ระบอบประชาธิปไตย
คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน
โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย
เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน
เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ
การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
1. อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรือบางทีก็เรียกกันว่า อำนาจของรัฐ (state power) เป็นอำนาจที่มาจากปวงชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเพื่อไปใช้สิทธิใช้เสียงแทนตน เช่น การเลือก สส. หรือ สว. โดยมีการกำหนดวันเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง เช่น ทุก 4 ปี หรือ 6 ปีเป็นต้น
3. รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อาทิ สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิต เสรีภาพในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น การชุมนุม โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเล่านี้
เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อรักษาศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
4. ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน เช่น สิทธิในการ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
5. รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มชน รวมทั้งจะต้องไม่ออกกฎหมายที่มีผลเป็นการลงโทษบุคคลย้อนหลัง
ปัญหาสำคัญทางการเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน
สภาพปัญหาทางการเมืองการปกครองในปัจจุบันจะต้องมีการแก้ไขปัญหาทางการเมือง
การปกครองอย่างเร่งด่วน นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย จนถึงปัจจุบันได้พัฒนาในทางที่ดีขึ้น แต่เป็นเพียงรูปแบบเท่านั้น
เพราะเห็นได้โดยหลัก ๓ ประการที่ยังปฏิบัติไม่สมบูรณ์ คือ ๑. ทางการเมืองประชาชนยังไม่มีสิทธิ์มีเสียงมากนัก ๒. ทางด้านเศรษฐกิจประชาชนก็ถูกลิดรอนจากรัฐบาล รวมทั้งกลุ่มอิทธิพล เช่น การยึดที่ดินที่เดิมเป็นของประชาชนแต่เดิมให้เป็นป่า ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อนและขาดรายได้ ๓. ด้านสังคมที่เกิดความไม่เท่าเทียมกันยึดเอาคนที่มีเงินที่ยศเป็นบุคคลที่สูง
อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
ประชาชนทุกคนอยู่ภายใต้อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองแบบใดแบบหนึ่งด้วยกันทั้งสิ้น
เช่น ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ ประชาชนก็จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลเผด็จการตลอดเวลา
ถึงแม้ว่าจะถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพก็ไม่สามารถที่จะเรียกร้องหรือแสดงปฏิกิริยาคัดค้านได้
เพราะอาจจะถูกรัฐบาลเผด็จการใช้อำนาจรัฐกดขี่ รังแก
หรือประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
ก็จะมีสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติคุ้มครองไว้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
เป็นต้น
สถานการณ์การเมืองการปกครองของสังคมไทย
1.ประเทศไทยสามารถปรับสถานการณ์ด้านต่างๆของประเทศให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์
ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
รวมทั้งพยายามพึ่งพาตนเองในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มากที่สุดด้วยการน้อมนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทานให้
มาใช้ในการพัฒนาและแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม เช่น
การทำเกษตรแบบยั่งยืน เป็นต้น
2.ประเทศไทยไม่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างเชื้อชาติหรือกลุ่มต่างศาสนาเหมือนกับในยูโกสลาเวีย
(ในอดีต) และเลบานอน เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่ลบหลู่ศาสนาอื่น
มีจิตใจเอื้ออารีต่อคนต่างชาติที่เข้ามาอาศัยหรือทำมาหากินในประเทศไทยเสมอ
จึงทำให้คนทุกเชื้อชาติทุกศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
3.ประเทศไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นทั้งเอกลักษณ์ของชาติและศูนย์รวมแห่งความสามัคคีของคนในชาติ
องค์พระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
และทรงห่วงใยชนชาวไยทุกหมู่เหล่าทุกภูมิภาค
จึงทำให้พระองค์ทรงเป็นที่เคารพสักการะและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยทั้งประเทศ
4.ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการเมืองไทยทั้งระบบให้เป็นการเมืองของพลเมืองโดยได้จัดทำรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นผลสำเร็จ
และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับก็ได้บัญญัติหลักการและสาระสำคัญที่สอดคล้องกับหลักการของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง